วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐


ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนที่๒๗ ก
ประกาศ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ และมีผลวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบหรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจารย่อมก่อให้เกิดความเสียหายกระท[กระเทือนต่อเศรษฐกิจสังคมและความมั่นคงของรัฐรวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชนสมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
กลุ่มของมาตรา ตาม พ.ร.บ. ( แบ่งกลุ่มเพื่อความสะดวกในการเรียนรู้ )
1. บทนำ และนิยามศัพท์๑ ถึง ๔
2. การกระทำความผิด และบทลงโทษ๕ ถึง ๑๑
3. ความผิด และบทลงโทษที่กระทบสังคม๑๒ ถึง ๑๗
4. อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่๑๘ ถึง ๒๓
5. พยานหลักฐาน และผู้ให้บริการ๒๔ ถึง ๒๗
 6. คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่๒๘ ถึง ๓๐

 สาระสำคัญของ พ.ร.บ.
1. ฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ (มาตรา 5-16)
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 5)
การล่วงรู้ถึงมาตรการป้องกันการเข้าถึง (มาตรา 6)
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ (มาตรา 7)
การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (มาตรา 8)
การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ (มาตรา 9)
การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 10)
การส่งสแปมเมล์ Spam Mail (มาตรา 11)
การกระทำความผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12)
การจำหน่าย / เผยแพร่ชุดคำสั่ง เพื่อใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)
การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ / เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม (มาตรา 14)
ความรับผิดของผู้ให้บริการ (มาตรา 15)
การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อ / ดัดแปลง (มาตรา 16)
2. เขต (ประเทศ) อำนาจของศาลในการพิจารณาคดี (มาตรา 17)
3. อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายใหม่ (มาตรา 18-21)
อำนาจของเจ้าพนักงานโดยเด็ดขาด
(1) มีหนังสือสอบถาม / ให้ส่งคำชี้แจง ให้ถ้อยคำ
(2) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
(3) สั่งให้ส่งมอบข้อมูลผู้ใช้บริการตามมาตรา 26
อำนาจของเจ้าพนักงานที่ต้องขออำนาจศาล
(4) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
(5) สั่งให้บุคคลส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์
(6) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์
(7) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์
(8) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์
4. อำนาจของ รมต.ไอซีที ระงับการทำให้เผยแพร่.. (มาตรา 20)
5. บทกำหนดโทษสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ หากเปิดเผย หรือประมาท (มาตรา 22-24)
6. ข้อมูลที่ใช้เป็นพยายานหลักฐาน ต้องไม่เกิดจากการจูงใจ หรือข่มขู่ (มาตรา 25)
7. การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ (มาตรา 26)
8. ข้อกำหนดให้ปฎิบัติตามพ.ร.บ.นี้ (มาตรา 27 - 30)

 นิยามศัพท์ (Technical Term)
1.               ผู้ให้บริการ หมายถึง ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP = Internet Service Provider) หน่วยงานภาครัฐบาล, เอกชนหรือหน่วยงานที่จัดตั้งและให้บริการเครือข่าย Internet, Intranet ทั้งที่เป็นแบบผ่านสายหรือไร้สาย ซึ่งทำให้เรานึกไปถึง ธุรกิจร้านอินเทอร์เน็ต คาเฟ่ สถานศึกษา และ องค์กรธุรกิจ เป็นต้น ผู้ให้บริการรายใหญ่ ได้แก่ AIS, True Move, Dtac, TOT, CAT, 3BB, TT&T เป็นต้น
2.               ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดย อัตโนมัติ
3.               ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หมายถึง ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจ ประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ด้วย
4.               ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล้กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร
5.               ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
6.               ผู้ใช้บริการ หมายถึง ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
7.               พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
8.               อำนาจที่ไม่ต้องขอจากศาล มาตรา 18 (1) - (3) แต่ (4) - (8) ต้องมีคำสั่งศาล
(1) มีหนังสือสอบถาม หรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.มาเพื่อให้ถ้อยคำ
(2) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(3) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการที่ต้องเก็บรักษาตาม มาตรา 26
พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 ฉบับชาวบ้าน
ถอดความโดยสรุปว่า ทำอะไรผิด แล้ว โดนลงโทษบ้าง
มาตรา 5. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป ... เจอคุก 6 เดือน
มาตรา 6. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเที่ยวไปโพนทะนาให้คนอื่นรู้ ... เจอคุกไม่เกินปี
มาตรา 7. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของเขา ... เจอคุกไม่เกิน 2 ปี
มาตรา 8. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา ... เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
มาตรา 9. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ เราดันมือบอนไปโมมันซะงั้น ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
มาตรา 10. ระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้านทำงานอยู่ดี ๆ เราดันยิง packet, message, virus, trojan, worm ... เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
มาตรา 11. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเล้ย เราก็ทำตัวเป็นอีแอบเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ ... เจอปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 12. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วมันสร้างความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า งานนี้มีซวยแน่ เจอคุกสิบปีขึ้น
มาตรา 13. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยให้ใคร ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ในข้อข้างบน ๆ ได้ ... เจอคุกไม่เกินปีนึงเหมือนกัน
มาตรา 14. โป๊ก็โดน, โกหกก็โดน, เบนโลก็โดน, ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
มาตรา 15. ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วยอมให้เกิดข้อ 10. โดนเหมือนกัน ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
มาตรา 16. ถ้าเราเรียกให้ชาวบ้านเข้ามาดูงานของศิลปินข้างถนน ซึ่งชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อ เตรียมใจไว้เลยมีโดน ... เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
มาตรา 17(1). เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย หึ ๆ อย่าคิดว่ารอด โดนแหง ๆ
มาตรา 17(2). ฝรั่งทำผิดกับเรา แล้วมันอยู่เมืองนอกอีกต่างหาก เราเป็นคนไทย ก็เรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น